ห้ามทำนารอบสอง!! “ประภัตร” ลุยเอง จัดคิวส่งน้ำเข้านาข้าวสุพรรณฯ

“ประภัตร” วอนชาวนาห้ามทำนารอบสอง ลงจัดคิวส่งน้ำเอาข้าวรอบแรกให้รอดก่อน ปรบมือให้กรมชลประทาน เหนื่อยมากตลอด 3 เดือนนี้ หวั่นพายุไม่เข้าไทยอันตรายมากปีนี้ สสน. เตือนเขื่อนน้ำน้อยวิกฤต 19 แห่ง”

เมื่อวันที่ 11 ส.ค.62 นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่แก้ปัญหาชาวนาแย่งน้ำใน จ.สุพรรณบุรีว่า ได้จัดรอบเวรส่งน้ำให้มีปริมาณที่เพียงพอตลอดทั้งต้นคลองถึงปลายคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง และคลองมะขามเฒ่า-กระเสียว ซึ่งมีชาวนากว่า 5 หมื่นครัวเรือน พื้นที่นาหลายแสนไร่ ที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำมาตลอดช่วง 3 เดือน จากภาวะฝนทิ้งช่วง หลายพื้นที่นาข้าวยังไม่ฟื้นตัวแม้มีฝนตกมาบ้างแล้ว

“จัดรอบเวรสูบน้ำส่งไปได้ 15 คิว ในวันพรุ่งนี้ชาวจะสามารถสูบได้พร้อมกัน โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องลงดูให้ต้นน้ำหยุดสูบก่อน พร้อมกับใช้รถแม็คโครขุดเปิดทางน้ำให้กว้างขึ้นด้วย ขอบคุณทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะกรมชลประทาน ระดมคนงานมากว่า 100 คน ลงแก้ปัญหาน้ำเหนื่อยมาก 3 เดือนนี้ เพื่อส่งน้ำให้ชาวนาได้ข้าว ร่วมกันแก้วิกฤติหนักจริงๆ ไปให้ได้ หากประกาศเขตภัยแล้ง ชาวนาจะได้เงินชดเชยไร่ละ 1,113 บาทเท่านั้น แต่ถ้าข้าวรอดได้เกี่ยวชาวนาจะได้ 1 หมื่นบาท ข้าวหอมปทุม กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก เช่นเดียวกับข้าวหอมมะลิ ภาคอีสาน ถ้าได้น้ำฝนมาอีกรอบ จะฟื้นนาข้าวได้เป็นล้านไร่ ขอร้องปีนี้ชาวนาอย่าทะเลาะกัน ช่วยกันเอาใจมาใส่กันดูแก้ปัญหากันผ่านพ้นไปให้ได้”นายประภัตร กล่าว

นายประภัตร กล่าวว่า ได้เน้นย้ำต้นคลองหยุดสูบก่อน เพื่อให้น้ำไปถึงปลายคลอง ถ้ามีปริมาณไปอย่างเสม่ำเสมอ การแบ่งเวรคิวจะไม่มีปัญหา นาข้าวได้น้ำจะไม่ยืนต้นตาย นอกจากนี้ ได้กำชับไม่ให้ปลูกข้าวรอบสองอย่างเด็ดขาด ถ้าไม่มีพายุเข้า ขณะนี้ปริมาณน้ำใช้ระบายได้ของเขื่อนภูมิพล มี600ล้านลบ.ม.เขื่อนสิริกิติ์ 600 ล้านลบ.ม.ซึ่งยังโชคดีมีฝนได้น้ำเข้าเขื่อน 400ล้านลบ.ม.ตนดีใจมากเพราะต้องมีน้ำไว้กินใช้ก่อน ปีนี้อันตรายมาก ถ้าไม่มีพายุ ขอให้ทุกคนเข้าใจเห็นใจซึ่งกันและกัน

ด้านศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะน้ำ กรมชลประทาน สรุปสภาพนํ้าในอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่และขนาดกลาง ปริมาตรน้ําในอ่างฯ 37,319 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 49 (ปริมาตรน้ําใช้การได้ 13,438 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 26) ปริมาตรน้ําในอ่างฯ เทียบกับปี 2561 (53,106 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 70) น้อยกว่าปี 2561 จํานวน 15,787 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ําไหลลงอ่างฯจํานวน 353.64 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณนํ้าระบาย จํานวน 84.20 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ําได้อีก 38,750 ล้าน ลบ.ม.

สภาพนํ้าในอ่างเก็บนํ้าขนาดใหญ่ ปริมาตรน้ําในอ่างฯ 35,488 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 50 (ปริมาตรน้ํา ใช้การได้ 11,985 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 25) ปริมาตรน้ําในอ่าง เทียบกับปี2561 (50,040 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น ร้อยละ 71) น้อยกว่าปี2561จํานวน 14,552 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ําไหลลงอ่างฯจํานวน 324.76 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณ น้ําระบายจํานวน 69.57 ล้าน ลบ.ม. สามารถรบั น้ําได้อีก 35,438 ล้าน ลบ.ม.

ส่วนเขื่อนใหญ่ลุ่มเจ้าพระยา ประกอบด้วยเขื่อนภูมิพล มีน้ำใช้การ 593 ล้านลบ.ม.หรือ6% เขื่อนสิริกิติ์ 645ล้านลบ.ม.หรือ10% เขื่อนแควน้อย 72ล้านลบ.ม.หรือ8% เขื่อนป่าสัก 25ล้านลบ.ม.หรือ3% รวม4เขื่อน 1,335ล้านลบ.ม หรือ7% ในวันนี้ ปริมาณน้ำระบายออก24ล้านลบ.ม.น้ำไหลเข้า57ล้านลบ.ม. รับน้ำได้อีก 16,480ล้านลบ.ม.

ส่วนสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(สสน.)เตือนปริมาณน้ำเขื่อนน้ำใช้การน้อยวิกฤต เช่นเขื่อนอุบลรัตน์(-2%),เขื่อนจุฬาภรณ์(3%),เขื่อนป่าสักฯ(3%),เขื่อนภูมิพล(4%),เขื่อนคลองสียัด(5%),เขื่อนสิริกิติ์(7%),เขื่อนแควน้อย(8%),เขื่อนกระเสียว(9%),เขื่อนทับเสลา(12%),เขื่อนลำพระเพลิง(13%),เขื่อนสิรินธร(13%),เขื่อนแม่กวง(14%),เขื่อนลำนางรอง(14%),เขื่อนห้วยหลวง(16%),เขื่อนขุนด่านปราการชล(16%),เขื่อนน้ำพุง(16%),เขื่อนลำปาว(16%),เขื่อนนฤบดินทรจินดา(18%),เขื่อนมูลบน(18%) และยังไม่มีพายุเข้าใกล้ประเทศไทยขณะนี้ โดยมีระดับฝนตกสะสมในปริมาณเฝ้าระวัง จ.ตาก เชียงราย น่าน ตราด ระนอง สตูล มีฝนตก40มม.-100มม.ขึ้นไป