ประกาศคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เรื่องกำหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงและการชดเชยส่วนต่างราคาตาม โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 รอบที่ 1 (งวดที่ 19) โดยการคิดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงเฉลี่ยจาก 3 แหล่ง ได้แก่ ราคาข้าวเปลือกที่กรมการค้าภายในสืบ ราคาข้าวเปลือกจากสมาคมโรงสี และราคาข้าวเปลือกที่คำนวณจากราคาข้าวสาร สำหรับข้าวเปลือกชนิดต่างๆ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% โดยระบุวันที่คาดจะเก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 11-17 กุมภาพันธ์ 2565 ดังนี้
เกณฑ์ราคาตลาดกลางอ้างอิง
1.ข้าวเปลือกหอมมะลิ สิ้นสุดฤดูกาลเก็บเกี่ยว
2.ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 11,544.91 บาท/ตัน
3.ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 10,289.42 บาท/ตัน
4.ข้าวเปลือกเจ้า 8,490.72 บาท/ตัน
5.ข้าวเปลือกเหนียว 10,029.57 บาท/ตัน
เกณฑ์ราคาชดเชย
1.ข้าวเปลือกหอมมะลิ ชดเชย สิ้นสุดฤดูกาลเก็บเกี่ยว
2.ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ชดเชย 2,454.09 บาท/ตัน
3.ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ชดเชย 710.58 บาท/ตัน
4.ข้าวเปลือกเจ้า ชดเชย 1,509.28 บาท/ตัน
5.ข้าวเปลือกเหนียว ชดเชย 1,970.43 บาท/ตัน
เกณฑ์ราคารัฐบาลประกัน
1.ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 บาท/ตัน ครัวเรือนไม่เกิน 14 ตัน
2.ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
3.ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน
4.ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ
5.ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของข้าวแต่ละชนิดที่ใช้ในการคำนวณรับสิทธิชดเชยโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 ดังนี้
– ข้าวเปลือกหอมมะลิ 359 กก./ไร่
– ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 432 กก./ไร่
– ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 682 กก./ไร่
– ข้าวเปลือกเจ้า 602 กก./ไร่
– ข้าวเปลือกเหนียว 387 กก./ไร่
ตัวอย่างคำนวณข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ปี 64/65 (งวดที่ 19)
1.ราคารัฐบาลรับประกัน 14,000 บาท ลบ ราคากลางตามประกาศ (14,000-11,544.91) = 2,455.09 บาท/ตัน
2.แปลงเป็นไร่ โดยนำไปคูณกับ 432 ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (2,455.09 x 432) = 1,060.59888 บาทต่อไร่
3.ลงทะเบียนกี่ไร่ให้นำไปคูณ สมมุติลงไว้ 10 ไร่ = 1,060.59888 x 10 เกษตรกรจะได้รับเงินชดเชยส่วนต่าง งวดที่ 19 ประมาณ 10,606 บาท
ตัวอย่างคำนวณข้าวเปลือกเหนียว ปี 64/65 (งวดที่ 19)
1.ราคารัฐบาลประกัน 12,000 บาท ลบ ราคากลางตามประกาศ (12,000-10,029.57) = 1,970.43 บาท/ตัน
2.แปลงเป็นไร่ โดยนำไปคูณกับ 387 ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (1,970.43 x 387) = 762.55641 บาทต่อไร่
3.ลงทะเบียนกี่ไร่ให้นำไปคูณ สมมุติลงไว้ 10 ไร่ = 762.55641 x 10 เกษตรกรจะได้รับเงินชดเชยส่วนต่าง งวดที่ 19 ประมาณ 7,626 บาท
อย่างไรก็ตาม สามารถตรวจสอบข้อมูลการโอนเงินว่า ธ.ก.ส.โอนแล้วหรือยัง ได้ที่ลิงค์ https://chongkho.inbaac.com/หรือผ่านแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ ธ.ก.ส.ทุกสาขาทั่วประเทศ และจะมีข้อความแจ้งเตือน เงินเข้าออกบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่เกษตรกรลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect.
อ้างอิง – กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์